วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิชาดนตรีเพลงfrist kiss

วิชาดนตรีเพลงพระเอก

วิชาดนตรี mv เพลง เจ็บเพราะเขา เหงาเพราะเธอ

วิชาดนตรี mv เพลง แค่ที่รัก

วิชาดนตรี mvเพลง คนเดียวไม่เหงาเท่า 3 คน

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เรียนรู้ “ชนิดของยาเสพติด”



ยาเสพติด


แบ่งได้ตามลักษณะที่หลากหลาย













ยาเสพติด สามารถแบ่งได้ ตามลักษณะต่างๆ ดังนี้














ก. แบ่งตามแหล่งที่เกิด ได้แก่














1. ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตได้มาจากพืช เช่น ฝิ่น กระท่อม กัญชา






2. ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน






















ข. แบ่งตามพราะราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้แก่














ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงไม่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น เฮโอีน (Heroin) แอมเฟตามีน (Amphetamine) เมทแอมเฟตามีน (Metham phetamine) แอลเอสดี (LSD) เอ็คซ์ตาซี (Ecstasy) หรือ MDMA














ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น ฝิ่น (Opium) มอร์ฟีน (Morphine) โคเคนหรือโคคาอีน เมทาโดน (Methadone)














ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่ เช่น ยาแก้ไอที่มีโคเดอีนผสมอยู่














ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือประเภท 2 เช่น อะเซติคแอนไฮไดรด์ (Aceticanhydride) อะเซติลคลอไรด์ (Acetylchloride) เอทิลิดีนไดอาเซเตด (Ethylidinediacetate) ไลเซอร์จิค อาซิค (Lysergic Acid)














ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น พืชกัญชา พืชกระท่อม พืชผิ่น (ซึ่งหมายความรวมถึงพันธุ์ฝิ่น เมล็ดฝิ่น กล้าฝิ่น ฟางฝิ่น พืชเห็ดขี้ควาย)






















ค. แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ได้แก่














1. ยาเสพติดประเภทกดประสาท เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท สารระเหย














2. ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน กระท่อม โคคาอีน














3. ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท เช่น แอลเอสดี ดีเอ็มที เห็ดขี้ควาย














4. ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาร (อาจกด กระตุ้นหรือหลอนประสทร่วมกัน) เช่น กัญชา






















ง. แบ่งตามองค์การอนามัยโลก














องค์การอนามัยโลกได้จัดแบ่งยาเสพติดออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่






1. ประเภทฝิ่น หรือ มอร์ฟีน รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน เช่น ฝิ่น มอร์พีน เฮโรอีน เพธิดีน














2. ประเภทบาบิทูเรทรวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน เช่น เซโคบาร์บิตาล อะโมบาร์บิตาล พาราลดีไฮล์ เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม คลอไดอาชีพอกไซด์














3. ประเภทแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ วิสกี้














4. ประเภทแอมเฟตามีน เช่น แอมเฟตามีน เดกซ์แอมเฟตามีน














5. ประเภทโคเคน เช่น โคเคนใบโคคา














6. ประเภทกัญชา เช่น ใบกัญชา ยางกัญชา














7. ประเภทคัท เช่น ใบคัท ใบกระท่อม














8. ประเภทหลอนประสาท เช่น แอลเอสดี ดีเอ็มที เมสคาลีน เมล็ดมอร์นิ่งโกลลี่ ต้นลำโพง เห็ดเมาบางชนิด














9. ประเภทอื่นๆ เป็นพวกที่ไม่สามารถเข้าประเภทใดได้ เช่น ทินเนอร์ เบนซิน น้ำยาล้างเล็บ ยาแก้ปวด บุหรี่

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันแม่แห่งชาติ ......




... ในฐานะที่เป็นชาวพุทธ คนไทยได้รับการอบรมให้มีความกตัญญูกตเวทิตาต่อผู้มีพระคุณ โดยเฉพาะแม่ผู้ให้กำเนิด เพราะคำว่า แม่ เป็นคำที่ไพเราะ ซาบซึ่ง เมื่อพูดถึงลูกทุกคนมักหวนระลึกถึงพระคุณของแม่ที่มีต่อตนอย่างมากมาย ยากที่จะหาโอกาสตอบแทนพระคุณของท่านให้หมดสิ้นได้












... พระพุทธเจ้าทรงยกย่องผู้ที่เป็นพ่อแม่ว่า " เป็นพระพรหม เป็นบูรพาจารย์ และเป็นอาหุเนยยบุคคล เพราะท่านเหล่านั้นเป็นผู้มีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยงดู และแสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย " ...พระคุณของแม่ที่เด่นชัด ตามคำสอนในพระพุทธศาสนาท่านพรรณนาไว้ ๔ ประการ



. .. 1. แม่เป็นพระพรหมของลูก คือ แม่มีคุณธรรมเหมือนกับพระพรหมอยู่ ๔ ประการ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ซึ่งเรียกว่า พรหมวิหารธรรม แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระพรหม เพราะพระพรหมผู้สถิตอยู่บนชั้นพรหมโลกนั้นท่านมีคุณธรรมต่อสัตว์โลกเหมือนกันหมด แม่ก็เช่นเดียวกัน คือ มีพรหมวิหารธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ต่อลูกทุกคน มีเมตตา ปราถนาให้ลูกทุกคนมีความสุข ความเจริญ มีกรุณา สงสาร ต้องการจะให้ลูกผู้มีความทุกข์พ้นจากความทุกข์ มีมุทิตา แสดงความยินดีด้วยความจริงใจเมื่อลูกของตนได้ดีมีสุข และมีอุเบกขาการวางเฉย ไม่ขวนขวายกังวล ในเมื่อทราบว่าลูกของตนเติบใหญ่ มีงานทำเลี้ยงตัวได้ หรือมีครอบครัวเป็นหลักป็นฐานแล้ว


















... 2. แม่เป็นเทพองค์แรกของลูก เพราะแม่เป็นผู้มีอุปาระก่อนกว่าเทพเหล่าอื่น ... เทพมี ๓ ประเภท คือ อุปปัตติเทพ ได้แก่ พวกที่เกิดเป็นเทดาโดยกำเนิด สมมติเทพ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ วิสุทธิเทพ ได้แก่ พระอรหันต์สาวก แม่ พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นวิสุทะเทพ เพราะท่านไม่คำนึงถึงความผิดที่ลูกกระทำผิดต่อท่าน แม่ให้อภัยเสมอ และหวังความสุข ความเจริญแก่ลูกอย่างเดียว เหมือนวิสุทธิเทพ คือ พระอรหันต์ไม่คำนึงถึงความผิดที่พวกคนพาลประพฤติผิดในท่าน หวังความเจริญแก่พวกเขาอย่างเดียว














... 3. แม่คือครูคนแรกของลูก สอนให้ลูกรู้สิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็ก ๆ นอนแบเบาะให้รู้จักสัมผัสนิ้วมือของแม่ ให้รู้จักได้ยินเสียงเป็นเบื้องต้น และเมื่อเติบโตขึ้นมายังสอนว่า สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ ให้ถูกต้องตามระเบียบแบบแผน ต่อมาอาจารย์อื่น ๆ จึงสอนหรือให้การศึกษาตามลำดับ










... 4. แม่เป็นบุคคลที่ลูกควรนำของมาบูชา เพราะท่านเป็นผู้มีอุปการคุณก่อน ต่อลูกทุกคน ...ตามหลักของพระพุทธศาสนานั้น พระอริยบุคคล จัดเป็นบุคคลที่ชาวโลกควรนำของมาบูชาเพราะท่านเป็นผู้มีคุณธรรมสูง สิ่งของที่บูชาหรือให้แก่พระอริยบุคคลจึงมีผลมาก เมื่อแม่มีคุณสมบัติเป็นดังพระอรหันต์อยู่ในบ้านใกล้ตัวเราเช่นนี้ ถ้าลูกต้องการที่จะได้บุญมาก ก็ควรบำรุงท่านให้มีความสุขกายสุขใจ โดยการไปหาท่าน ไปให้กำลังใจท่าน ไปกราบท่านบ้าง ให้สบายใจเถิด






... พระคุณของแม่ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ปรากฏเป็นที่ชัดเจนแล้วต่อลูกทุกคน เว้นเสียแต่ว่าลูก ๆ บางคนยังคิดน้อยเนื้อต่ำใจอะไรบางอย่างที่ตนไม่เข้าใจ และนี่เป็นการยืนยันว่า คำสอนทางพุทธศาสนาได้เน้นถึงพระคุณของแม่ไว้ เมื่อลูกรู้ว่าแม่มีพระคุณมากอย่างนี้ ก็ควรแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่าน โดยสามารถทำได้ในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ด้วยการช่วยเหลือ เกื้อกูล เลี้ยงดูเป็นอย่างดี และเชื่อฟังคำสั่งสอนของท่าน อีกทั้งยังชักนำให้แม่ไม่มีศรัทธา ...ให้มีศรัทธาในทาน ศีล ภาวนา หรือ เมื่อท่านมีศรัทธาในทาน ศีล ภาวนา อยู่แล้ว ต้องเพิ่มพูนศรัทธาให้มากขึ้น จะทำให้แม่มีความสุขใจ ภูมิใจในลูกของตน อีกทั้งยังได้ชื่อว่าเป็นการรักษาวัฒนธรรมอันดีงามประจำชาติอันเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญประการหนึ่งของไทยเรา...





บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด

โดยองค์การอนามัยโลก เนื่องจากเล็งเห็นอันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพ ของผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่ การจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลกก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ และให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลก ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรม องค์การอนามัยโลกระบุชัดเจนว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่สามารถป้องกันได้ และกำหนดให้ วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ( World No Tobacco Day)






ซึ่งในปีนี้ ได้กำหนดประเด็นการรณรงค์เพื่อให้ทุกภาคส่วนดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน และให้บุคลากรสาธารณสุขมีส่วนร่วมในการรณรงค์ควบคุมการบริโภคยาสูบ ภายใต้คำขวัญว่า "Health Professionals Against Tobacco" หรือ " ทีมสุขภาพร่วมใจ ขจัดภัยบุหรี่" โดยกระทรวงสาธารณสุขและเครือข่ายได้กำหนดให้ใช้ ดอกลีลาวดี เป็นสัญลักษณ์ในการรณรงค์ปีนี้














สถานการณ์การสูบบุหรี่ของคนไทย


o จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ทำการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากร ปี 2547 พบว่า


o มีผู้สูบบุหรี่ประจำ 9.6 ล้านคน โดยลดลงจากการสำรวจเมื่อปี 2544 ที่มีผู้สูบบุหรี่ประจำ 10.6 ล้านคน


o ผู้สูบบุหรี่เป็นเพศชาย 9,627,686 คน เพศหญิง 525,695 คน


o ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า 6.2 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 64ของผู้สูบบุหรี่


o ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้สูบบุหรี่มากที่สุด คือ 3.5 ล้านคน และกรุงเทพมหานครมีผู้สูบบุหรี่น้อยที่สุดคือ 858,420 คน


o การเจ็บป่วยจากการสูบบุหรี่เป็นภาระโรคอันดับที่ 2 ของคนไทย รองจากโรคเอดส์ และแอลกอฮอล์เป็นอันดับสาม


o โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยมากที่สุด คือ โรคหัวใจและโรคมะเร็ง


o ปัจจุบันคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคจากการสูบบุหรี่ปีละ 52,000 คน หรือวันละ 142 คน หรือชั่วโมงละ 6 คน







วันไหว้ครู
ความหมายของดอกไม้ไหว้ครู












ดอกมะเขือ เป็นดอกที่โน้มต่ำลงมาเสมอ ไม่ได้เป็นดอกที่ชูขึ้น คนโบราณจึงกำหนดให้เป็นดอกไม้สำหรับไหว้ครู ไม่ว่าจะเป็นครูดนตรี ครูมวย ครูสอนหนังสือ ก็ให้ใช้ดอกมะเขือนี้ เพื่อศิษย์จะได้อ่อนน้อมถ่อมตนพร้อมที่จะเรียนวิชาความรู้ต่างๆ นอกจากนี้มะเขือยังมีเมล็ดมาก ไปงอกงามได้ง่ายในทุกที่ เช่นเดียวกับหญ้าแพรก









หญ้าแพรก เป็นหญ้าที่เจริญงอกงาม แพร่กระจายพันธ์ ไปได้อย่างรวดเร็วมาก หญ้าแพรกดอกมะเขือจึงมีความหมายซ่อนเร้นอยู่ คนโบราณจึงถือเอาเป็นเคล็ดว่า ถ้าใช้หญ้าแพรกดอกมะเขือไหว้ครูแล้ว สติปัญญาของเด็กจะเจริญงอกงามเหมือนหญ้าแพรกและ ดอกมะเขือนั่นเอง









ดอกเข็ม เพราะดอกเข็มนั้นมีปลายแหลม สติปัญญาจะได้แหลมคมเหมือนดอกเข็ม และก็อาจเป็นได้ว่า เกสรดอกเข็มมีรสหวาน การใช้ดอกเข็มไหว้ครู วิชาความรู้จะให้ประโยชน์กับชีวิต ทำให้ชีวิตมีความสดชื่นเหมือนรสหวานของดอกเข็ม







ข้าวตอก

เป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย แม้ว่าโดยธรรมชาติแล้วคนเรามักจะมีความซุกซน ความเกียจคร้าน เป็นสมบัติมากบ้าง น้อยบ้างก็ตาม ตาเมื่อเขามีความต้องการศึกษาหาความรู้ เขาก็ต้องรู้จักควบคุมตนเองให้อยู่ในกรอบ ในระเบียบหรือในกฎเกณฑ์ที่สถาบันได้กำหนดไว้ ใครก็ตามหากตามใจตนเอง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ บุคคลนั้นก็จะเป็นเหมือนข้าวเปลือกที่ถูกคั่ว แต่ไม่มีโอกาสได้เป็นข้าวตอก



วันภาษาไทยแห่งชาติ 29 กรกฎาคม
ความเป็นมา






คณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และมีความห่วงใยในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อภาษาไทย และเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป จึงได้เสนอขอให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่นๆ ที่รัฐบาลได้จัดให้มีมาก่อนแล้ว เช่น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” และ “วันสื่อสารแห่งชาติ” เป็นต้น และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๒ เห็นชอบให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ





เหตุผล






ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาติ สมควรจะได้รับการทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ไว้ให้ยั่งยืนตลอดไป






ทั้งนี้ในยุคปัจจุบันวิชาการและเทคโนโลยีต่างๆ ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วเกิดเทคนิคใหม่ๆ ในการติดต่อสื่อสาร มี่มุ่งเน้นความสะดวกรวดเร็ว ส่งผลให้ภาษาไทยซึ่งเป็นสื่อกลางสำคัญในการติดต่อและผูกพันต่อการดำรงชีวิตประจำวันของคนไทยได้รับผลกระทบ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ทำให้ภาษาไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างน่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง สภาพการณ์เช่นนี้หากไม่เร่งรีบหาทางแก้ไขและป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ การใช้ภาษาไทยของเราก็จะยิ่งเสื่อมลง จะส่งผลเสียหายต่อเอกลักษณ์และคุณค่าของภาษาไทยเป็นทวีคูณ






ทำไมจึงได้กำหนดให้เป็นวันที่ ๒๙ กรกฏาคม เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ






เพราะวันดังกล่าว ตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานและทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๐๕ ทรงเปิดการอภิปรายในหัวข้อ “ปัญหาการใช้คำไทย” ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปรายอย่างดีเยี่ยม แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยและความห่วงใยในภาษาไทย เป็นที่ประทับใจผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว และในโอกาสต่อๆ มาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยและความห่วงใยในภาษาไทยอีกหลายโอกาส เช่น ได้พระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับปัญหาในการใช้ภาษาไทยของประชาชนชาวไทยในปัจจุบัน ในวโรกาสที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการและองค์กรเอกชนเข้าเฝ้าถวายชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช ๒๕๓๕ นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงย้ำให้ประชาชนชาวไทยตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทยและพระราชทานแนวความคิดในการอนุรักษ์ภาษาไทยในโอกาสต่างๆ อยู่เสมอ ที่สำคัญยิ่งกว่านี้ คือ เป็นที่ประจักษ์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทยทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและสันสกฤต ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่าเป็นคติในการเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระราชนิพนธ์แปลบทความเรื่องสั้นๆ หลายบท และพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนก นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่สุดมิได้แก่วงการ






วัตถุประสงค์






๑. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใยและพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย






๒. เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒






๓. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป






๔. เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับให้มีสัมฤทธิผลยิ่งขึ้น






๕. เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่างๆ ไปสู่สาธารณชนทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ






ประโยชน์ที่ได้รับจากการมี “ วันภาษาไทยแห่งชาติ ”






คาดว่าจะมีผลดีสืบเนื่องหลายประการ คือ






๑. การมี “วันภาษาไทยแห่งชาติ” จะทำให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเตือน เผยแพร่ และเน้นย้ำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ “ภาษาประจำชาติ” ของคนไทยทุกคน และร่วมมือกันอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยให้มีความถูกต้องงดงามอยู่เสมอ






๒. บุคคลในวงวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะในวงการศึกษา และวงการสื่อสาร ช่วยกันกวดขันดูแลให้การใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม มิให้ผันแปรเปลี่ยนแปลง จนเกิดความเสียหายแก่คุณลักษณะของภาษาไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ






๓. ผลสืบเนื่องในระยะยาว คาดว่าปวงชนชาวไทยทั่วประเทศจะตื่นตัวและสนใจที่จะร่วมกันฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์และสมบัติวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติให้ดำรงคงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป




กิจกรรม







เชิญชวนให้สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน จัดกิจกรรมเนื่องใน “วันภาษาไทยแห่งชาติ” ในวันภาษาไทยแห่งชาติ โดยจัด ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่นการจัดนิทรรศการ, การอภิปรายทางวิชาการ, การประกวดแต่งคำประพันธ์ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง การขับเสภา

การเล่านิทาน ฯลฯ
ประวัติ ที่มาของ วันวิทยาศาสตร์ไทย




พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพเมื่อ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๓๔๗ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีชวด ฉศกจุลศักราช ๑๑๖๖ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๒ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ณ พระราชวังเดิม พระเจ้ากรุง ธนบุรี เมื่อพระชนมายุย่างเข้า ๙ พรรษา (พ.ศ. ๒๓๕๖) สมเด็จพระบรมชนกนาถ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดให้มีพระราชพิธีลงสรงเป็นครั้งแรก ในกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ดำรงพระ ราชเกียรติยศรับพระราชทานพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์พงศ์อิศวร กษัตริย์วรขัตติยราชกุมาร" ปรากฏตามอเนกนิกรชนสมมติ เรียกพระนามว่า "ทูลกระหม่อมฟ้าพระองค์ใหญ่"


ในปี พ.ศ.๒๓๙๔ (พระชนมายุได้ ๔๗ พรรษา ทรงผนวชมาได้ ๒๗ พรรษา) พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ได้เข้ากราบถวายบังคมทูลอัญเชิญเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ สืบพระราช สันติวงศ์ รัชกาลที่ ๔ โดยมีพระราชปรมาภิไธยโดยย่อว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรามหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" นับตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเริ่มสร้างความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่าง พระมหากษัตริย์กับ อาณาประชาราษฎร ให้เข้ากับกาลสมัยในรูปใหม่ อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่พระองค์ ทรงอยู่ในสมณเพศนานถึง ๒๗ พรรษา ได้เสด็จธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่างๆ เป็นโอกาสให้ทรงได้รับรู้สภาพความเป็นอยู่ โดยแท้จริงของ ราษฎรส่วนใหญ่ด้วยพระองค์เอง นับเป็นประสบการณ์ที่มีค่ายิ่ง และเป็นการเตรียมพระองค์เพื่อปกครองบ้านเมืองในอนาคต เป็นอย่างดี ประกอบกับลัทธิจักรวรรดินิยม ที่แผ่ขยายมายังประเทศใกล้เคียงในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และในทวีปเอเซีย ทำให้พระองค์ทรง ตระหนักว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศสยาม จะต้องยอมรับอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตก และเร่งปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย โดยทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจในหลายๆ ด้านไปพร้อมๆ กันด้วยพระบรมราโชบายที่มีทรรศนะไกล และด้วยความสุขุมคัมภีรภาพ คือ

๑. ด้านการต่างประเทศ


๒. ด้านการเสริมสร้างความมั่นคง และการป้องกันพระราชอาณาจักร


๓. ด้านการปฏิรูปการปกครอง


๔. ด้านการทำนุบำรุงอาชีพของราษฎร และการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ และการคลัง


๕. ด้านบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร


๖. ด้านบำรุงศึกษาศาสตร์


๗. ด้านพระราชพิธี ประเพณี ธรรมเนียม


๘. ด้านพระศาสนา


๙. ด้านการก่อสร้าง










พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่า การศึกษาสมัยใหม่ เป็นสิ่งจำเป็นในการปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัย เป็นที่ยอมรับของประเทศมหาอำนาจตะวันตก ทรงสนับสนุนงานริเริ่มจัดการศึกษาสมัยใหม่ โดยคณะมิชชั่นนารี อย่างดียิ่ง ทรง เป็น "องค์วิชาการ" ทรงใฝ่พระทัยศึกษาด้วยพระองค์เอง ทั้งในด้าน


ผู้ดำเนินรายการ ครับ…..ก็ได้ฟังพระราชประวัติโดยย่อ ของพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย พี่จิ๋วครับแล้ว วันวิทยาศาสตร์เริ่มต้นอย่างไรครับ






สฤษดิ์พรรณ ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ปรัชญาศาสนาต่างๆ ภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์


ณ วันอังคารที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๑๑ เป็นวันสำคัญที่พระองค์ท่าน, ตลอดจนบรรดาผู้โดยเสด็จ และผู้มาเข้าเฝ้าทั้งไทยและเทศต่างเฝ้ารอ คำพยากรณ์จากการคำนาณทางดาราศาสตร์, ก็ปรากฎว่า เมื่อเวลา ๑๐.๑๖ น. ท้องฟ้าเหนือชายทะเล บ้านหว้ากอ ซึ่งแต่เดิมปกคลุมด้วยเมฆฝนก็พลันกระจ่างมองเห็นดวงอาทิตย์ไรๆ, พอรู้ว่าสุริยุปราคาได้เริ่มขึ้นแล้ว, จนกระทั่งเวลา ๑๑.๓๖ น. กับอีก ๒๐ วินาที ก็จับเต็มดวง, ซึ่งกินเวลาจับเต็มดวง ทั้งสิ้น ๖ นาที กับ ๔๕ วินาที. เล่ากันมาว่า "เวลานั้นมืดเหมือนเวลากลางคืน เวลาพลบค่ำ คนที่นั่งไกล้ๆก็แลดูไม่รู้จักหน้ากัน" ท่ามกลางความมืดจากสุริยุปราคานั้น, พระบารมีขององค์พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทยก็เจิดจรัสแจ่มฟ้า พระองค์ทรงสามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ตำบล หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้อย่างแม่นยำ ไม่คลาดเคลื่อนแม้แต่วินาทีเดียว ซึ่งเป็นการพิสูจน์ผลการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ครั้งยิ่งใหญ่ และครั้งแรกของชาติไทย จนเป็นที่เลื่องลือในวงการดาราศาสตร์ทั่วโลก ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าภาคภูมิใจยิ่งของประเทศชาติ


เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๒๕ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้เทิดทูนพระเกียรติยศแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" องค์ปฐมดำริสร้างไทยก้าวทันโลก และกำหนดให้วันที่ ๑๘ สิงหาคม ของทุกปี เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนั้นในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการเร่งรัดส่งเสริมและสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เพื่อยกย่องสดุดีพระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" และเพื่อกระตุ้นสำนึกและเสริมสร้างความเข้าใจให้ประชาชนในทุกระดับได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีผลต่อการพัฒนาฐานะของประเทศให้ดีขึ้น






ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๗ ได้จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๔ สิงหาคม ๒๕๒๗ โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ร่วมมืออย่างใกล้ชิด กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จัดกิจกรรมขยายออกไปอย่างกว้างขวางและพร้อมเพรียงกันทั่วประเทศ ความร่วมมือดังกล่าวก่อให้เกิดพลังสำคัญในการกระตุ้นให้ประชาชนและเยาวชนไทยมีความตื่นตัว และเห็นความสำคัญของบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีต่อการพัฒนาประเทศมากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้คณะรัฐมนตรีได้เล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการจัดงานข้างต้น ดังนั้น เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๒๘ คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ดำเนินการจัดงาน "สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ" เป็นประจำทุกปี ระหว่าง วันที่ ๑๘-๒๔ สิงหาคม และอนุมัติให้จัดสรรงบประมาณสำหรับดำเนินการจัดงานตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๙ เป็นต้นมา